อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
วิสัยทัศน์/พันธกิจ


ที่ตั้งของตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง มีหมู่บ้านจำนวน ๑๑ หมู่บ้าน ในเขตท้องที่รับผิดชอบ
ที่ตั้ง ๔๓๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประกอบไปด้วย ๑๑ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ บ้านฝาละมี หมู่ที่ ๒ บ้านควนพระ หมู่ที่ ๓ บ้านบางมวง หมู่ที่ ๔ บ้านพระเกิด หมู่ที่ ๕ บ้านควนนางพิมพ์ หมู่ที่ ๖ บ้านบางขวน หมู่ที่ ๗ บ้านปากเครียว หมู่ที่ ๘ บ้านแหลมไก่ผู้ หมู่ที่ ๙ บ้านควนเคี่ยม หมู่ที่ ๑๐ บ้านชุมแสง และหมู่ที่ ๑๑ บ้านเพ็งอาด

สภาพทั่วไปของตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี เป็นที่ราบเหมาะแก่การประกอบอาชีพทางการเกษตร เนื้อที่ โดยประมาณ ๘๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๔,๔๗๕ ไร่

อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อบต.นาปะขอ,ทต.บางแก้ว อำเภอบางแก้ว
ทิศใต้ ติดต่อกับ ทต.หารเทา อำเภอปากพะยูน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลอ่าวพะยูน อำเภอปากพะยูน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อบต.วังใหม่,อบต.ป่าบอน อำเภอป่าบอน

ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นอากาศร้อนชื้น ประกอบด้วย ๒ ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน



ประวัติตำบลฝาละมี

จากการบอกเล่าสืบทอดต่อกันมา ตำบลฝาละมี เดิมมาจาก “บ้านควนฝาละมี” ซึ่งอยู่ที่บ้านฝาละมี ปัจจุบัน ประวัติเดิมมีอยู่ว่า แต่เดิมนั้นตำบลฝาละมีซึ่งอยู่ที่บ้านฝาละมีมีชื่อเรียกกันว่า”บ้านควน” เพราะเป็นเนินเขาป่าทึบมีสัตว์ร้ายมากมาย คนอาศัยอยู่น้อย บ้านบนสวนซึ่งอยู่ห่างประมาณ 2 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของบ้านควน ได้มีชาวจีนอพยพมาจากเมืองจีนหลายครอบครัวอาศัยอยู่ มีฐานะร่ำรวยเป็นที่รู้จักกันดี และชาวบ้านเรียกบ้านบนสวนว่า “บ้านจีน” อยู่มาวันหนึ่งโจรได้บุกเข้าปล้นบ้านของชาวจีนโดยเอาทรัพย์สิน เงินทองตลอดจนหม้อข้าว หม้อแกง ไปจนหมดสิ้นและได้เดินทางผ่านบ้านควนทำฝาหม้อ ซึ่งทางภาคใต้เรียก “ฝามี” ตกหล่น มีคนพบในขณะที่จะมาหักร้างถางป่าเพื่อทำมาหากิน ซึ่งได้เรียกว่า “บ้านควนฝาละมี” ด้วยนิสัยคนปักษ์ใต้ชอบพูดสั้นๆ เข้าใจง่าย จึงเรียก “บ้านฝาละมี” จนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
"สู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า สานงานการศึกษา
มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานส่งเสริมกีฬา
และภูมิปัญญาท้องถิ่น”
พันธกิจ
1. ส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน
2. พัฒนางานสังคมสงเคราะห์และคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนสตรี คนชราคนพิการผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ด้อยโอกาส
3. พัฒนางานสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วถึง
4. ส่งเสริม การกีฬา การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
6. เสริมสร้างการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี